Responsive image
Menu

 

แนะวิธีป้องกันถูกหลอก ซื้อของผ่านออนไลน์

แชร์ / บอกต่อ

การเติมโตของธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะสมัยนี้ใครจะนั่งทนรถติด โดนแดดออกมาซื้อของที่ราคาแพงๆหน้าร้านอยู่ละ ถ้าไม่จำเป็น


เพราะ ความเข้าถึงง่ายของเทคโนโลยี ความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้าที่ง่าย รวดเร็ว ตัดปัญหาเรื่องของการเดินทาง บางครั้งยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากร้านค้าออนไลน์ไม่มีต้นทุนในการเปิดร้าน นอกจากนี้ การซื้อของผ่านระบบออนไลน์ในสินค้าบางประเภท เช่น กระเป๋า นาฬิกา เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่วนใหญ่เป็นของต่างประเทศ ยังอาจทำให้ได้ของที่ทันสมัย โดยเฉพาะของที่ไม่มีร้านจำหน่ายในประเทศไทย

ด้วย ปัจจัยที่เข้าถึงง่ายสะดวกนี้เอง ทำให้ การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ก็ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณาขายไว้ทางออนไลน์ ได้สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือไม่ตรงกับความต้องการ รวมไปถึงการโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค  จนกลายเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนเข้ามายัง  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)ไม่ต่ำกว่า 200-300 ราย

จาก สถิติการรับเรื่องร้องเรียนของ  กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน พบว่าการซื้อสินค้าและบริการแบบออนไลน์ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต มีปัญหาในหลายประเด็น เช่น ผู้บริโภคชำระเงินแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อ  หรือบางครั้ง ถูกยกเลิกบริการและไม่สามารถติดตามขอเงินคืนได้ เนื่องจากไม่ทราบชื่อที่แท้จริงและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ยังประสบปัญหา การโฆษณาทางสื่ออินเตอร์เน็ตที่ใช้ข้อความและรูปภาพในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ ที่เกินความจริง  ใช้ข้อความที่ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีของชาติ  และบางครั้ง  มีการใช้รูปภาพประกอบที่ไม่เหมาะสม


สินค้าที่มีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่ประชาชนจะถูกหลอก ลวงส่วนใหญ่ คือ สินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาแพง เช่น กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา  ส่วนบริการออนไลน์ที่มักจะโดนหลอกลวง ได้แก่ การจองตั๋วเครื่องบิน และการจองทัวร์ ฯลฯ

และแม้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาจะมีการบังคับใช้มาแล้วหลายปี แต่ก็ยังปรากฏว่ามีผู้ประกอบธุรกิจส่วนหนึ่งยังคงใช้ข้อความหรือภาพโฆษณาที่ ขัดพระราชบัญญัติอยู่ ดังนั้น นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล สคบ.จึงได้สั่งการให้มีการเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อชดเชยความเสียหายในการเปลี่ยนสินค้าให้กับ ผู้บริโภค แต่ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้มากนัก เนื่องจากเจ้าของเว็บไซต์ที่ขายสินค้าออนไลน์เหล่านี้ จะนำสินค้ามาขายแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะปิดเว็บไซต์ ตามตัวไม่ได้

เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ไม่ ให้ตกเป็นเหยื่อของการซื้อขายสินค้าในรูปแบบใหม่นี้  สคบ.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดูแลการดำเนินธุรกิจออนไลน์ขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์  กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และภาคเอกชน  ช่วยกันสอดส่องดูแลการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และยังเป็นการรวมศูนย์กลางในการบูรณาการหน่วยงานที่ดูแลสินค้าด้านออนไลน์ ไว้ที่เดียว  ช่วยให้การคุ้มครองและการช่วยเหลือผู้บริโภคมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  หากพบเว็บไซต์ที่หลอกลวงผู้บริโภคก็จะส่งเจ้าหน้าที่ตามไปถึงแหล่งผลิตเพื่อ ดำเนินคดีทางกฎหมายทันที


ทั้งนี้ นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะวิธีป้องกันการโดนหลอกจากการซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ ว่า ผู้บริโภคควรให้เวลากับการศึกษาข้อมูลของสินค้า ความน่าเชื่อถือของผู้ขายและสินค้าที่ขายก่อนการตัดสินใจซื้อ โดยมีวิธีการง่ายๆ คือ

1.ตรวจสอบเว็บไซต์ของร้านค้าว่ามีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับ กระทรวงพาณิชย์หรือไม่ การตรวจสอบนี้จะทำให้ผู้บริโภคสบายใจได้ในระดับหนึ่ง  เพราะการจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ผู้จดต้องเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์  ต้องมีการระบุข้อมูลส่วนตัวต่างๆเพื่อขอขึ้นจดทะเบียน ซึ่งถ้าหากเป็นมิจฉาชีพคงจะไม่อยากแสดงตัวตน ให้ผู้อื่นรู้ สังเกตได้จากหน้า Contact Us ในการจดทะเบียนผู้ขายจะได้รับเลขรหัสทะเบียน และจะมีการแสดงสัญลักษณ์ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2.เลือก ร้านค้าที่มีเสียงตอบรับในทางที่ดี วิธีสังเกตง่ายๆคือร้านค้าที่มีเสียงตอบรับที่ดี  ให้ดูจาก facebook การรีวิว (Review) จากลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากทางร้านว่าเป็นอย่างไร

3.เลือกซื้อสินค้าในเว็บไซต์ที่มีที่อยู่ชัดเจน

4.ตรวจ สอบการตอบคำถามของผู้ขายสามารถตรวจสอบได้จากการตอบคำถามใน Social media เช่น facebook, line


5.ดูเงื่อนไขการรับประกันสินค้าหรือบริการหลังการขายเนื่อง จากการซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ หากสินค้ามีปัญหาไม่ว่าจะเป็นการส่งที่ผิดพลาดหรือสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ทางร้านจะมีการรับประกันหรือสามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้หรือไม่ ระยะเวลาในการรับประกันมีมากน้อยเพียงใด หากทางผู้ขายไม่ได้ระบุไว้ ผู้บริโภคก็ควรถามให้เข้าใจ และชัดเจนก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งในทางที่ดีควรสอบถามผ่านทาง เว็บบอร์ดหรืออีเมล์  เพื่อจะได้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร  และไม่ควรตกลงซื้อขายกันทางโทรศัพท์

และ 6.สินค้าที่สนใจจะซื้อไม่ควรเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น ซีดีเถื่อน สินค้าปลอม สินค้าผิดกฎหมาย หรือสินค้าที่มีราคาสูงมากๆ ถ้าไม่ใช่สินค้าพวกนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจมากมาย เพราะปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดกับสินค้าประเภทนี้

เป็น 6 วิธีง่ายๆที่จะช่วยให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการซื้อขายสินค้าออนไลน์...ในยุคโลกเทคโนโลยีนี้...

ที่มา : ไทยรัฐ


หมวดหมู่ ไอทีอัพเดท / คำค้น มือถือ,shopping

แชร์ / บอกต่อ

แสดงความคิดเห็น

Film ASUS ZENFONE 6 'FOCUS' Blue Light Cut
279 บาท
255 บาท
Film ASUS ZENFONE 6 'KAKUDOS' Blue Ligjht Cut
250 บาท
225 บาท
Film ASUS ZENFONE 6 'KAKUDOS' Tempered Glass
250 บาท
225 บาท
Film ASUS ZENFONE 5 'FOCUS' Blue Light Cut
239 บาท
215 บาท
Film ASUS ZENFONE 4.5 'FOCUS' ด้าน
125 บาท
100 บาท